ข้อมูลพื้นฐานและจังหวัด

PDFพิมพ์อีเมล

คำขวัญจังหวัดยะลา

ใต้สุดสยาม   เมืองงามชายแดน

 เรื่องเล่า

คำว่า  "ยะลา”   มาจากภาษาพื้นเมืองเดิมว่า "ยะลอ"  ซึ่งแปลว่า "แห" เพราะสถานที่ตั้งเมืองเดิมคือ  บ้านยะลอ  (ตำบลยะลอในปัจจุบัน)  ต่อมาได้มีการย้ายมาตั้งเมืองใหม่หลายครั้ง ในที่สุดมาตั้งที่บ้านนิบงตำบลสะเตง ตราบเท่าทุกวันนี้       ดินแดนอันเป็นที่ตั้งของจังหวัดยะลาในปัจจุบันแต่เดิมจะเป็นท้องที่ในบริเวณหนึ่งของเมืองปัตตานี ซึ่งในปลายปีพ.ศ. 2475  ได้ประกาศยกเลิกมณฑลปัตตานี  และได้มีการปรับปรุงการปกครองหัวเมืองตามพระราช อาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 จัดบริหารราชการส่วน จัดบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอมีข้าหลวงประจำจังหวัดและกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร  จังหวัดยะลาจึงเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยสืบต่อมาจนทุกวันนี้

ประวัติจังหวัดยะลา

ยะลาเดิมเป็นท้องที่หนึ่งของเมืองปัตตานีในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ได้มีการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นการปกครองแบบเทศาภิบาลและได้ออกประกาศข้อ บังคับสำหรับปกครอง 7 หัวเมือง รัตนโกสินทรศก 120 ซึ่งประกอบด้วยเมืองปัตตานี หนองจิกยะหริ่งสายบุรียะลา ระแงะและรามันในแต่ละเมืองจะแบ่งเขตการปกครองเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2447ประกาศจัดตั้งมณฑลปัตตานีขึ้นดูแลหัวเมืองทั้ง 7 แทนมณฑลนครศรีธรรมราช และยุบเมืองเหลือ 4 เมือง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา สายบุรี และระแงะ ต่อมา พ.ศ. 2450เมืองยะลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 อำเภอ ได้แก่อำเภอเมืองยะลาและอำเภอยะหา ต่อมา พ.ศ. 2475ได้มีการยกเลิกมณฑลปัตตานี และในปี พ.ศ. 2476เมืองยะลาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นจังหวัดยะลาตามพระราชบัญญัติราช อาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 เรื่อง การจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาค ออกเป็นจังหวัด เป็นอำเภอ และให้มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรมการจังหวัดเป็นผู้บริหารราชการ

ความหมายของชื่อจังหวัด

เหตุที่เรียกชื่อว่ายะลานั้นเพราะพระยาเมืองคนแรกได้ตั้งที่ทำการขึ้นที่บ้านยะลา คำว่า ยะลา เป็นชื่อเรียกสำเนียงภาษามลายูพื้นเมือง มาจากคำว่า “ยาลอ” (جال) แปลว่า “แห” แต่ตามประวัติศาสตร์ซึ่งได้เขียนไว้ในสมัยเจ็ดหัวเมือง โดยเจ้าผู้ครองเมืองเดิมได้เขียนไว้เป็นประวัติศาสตร์เป็นภาษามลายูว่า “เมืองยะลา” เป็นสำเนียงภาษาอาหรับโดยชาวอินโดนีเซียที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาอิสลามในบริเวณเจ็ดหัวเมือง ซึ่งอยู่ในแหลมมลายูเป็นผู้ตั้งชื่อเมืองไว้

เมืองยะลาเดิมตั้งอยู่ใกล้ภูเขายาลอ ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลาปัจจุบันไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ต่อมาเมืองยะลาได้ยกฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่งของบริเวณเจ็ดหัวเมือง คำว่าเมืองยะลาหรือยาลอ ยังคงเรียกกันจนถึงปัจจุบันนี้

เมืองที่สวยงาม

ยะลาเป็นจังหวัดที่เทศบาลมีการจัดวางผังเมืองแบบใยแมงมุมที่สวยที่สุดของ ประเทศไทย และได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดความสะอาด 3 ปีซ้อนระหว่าง พ.ศ. 2528-2530และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลนครยะลา ในปี พ.ศ. 2538ในปี พ.ศ. 2540ได้รับการคัดเลือกจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นเป็น 1 ใน 5 เมืองของประเทศไทยในโครงการเมืองน่าอยู่ทั่วโลก

ประชากร

จังหวัดยะลาเป็นหนึ่งใน 4 จังหวัดของไทย ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งมีมากถึงร้อยละ 68.9 และประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูถึงร้อยละ 66.1นอกจากนั้นก็จะมีชาวไทยชาวจีนและชาวญวน ภาษาที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก็จะมีภาษามลายูถิ่น ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันออกไป ภาษาไทยซึ่งก็มีการใช้สนทนา รวมถึงภาษาจีนซึ่งแพร่หลายอยู่ในกลุ่มชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดยะลา รวมถึงภาษาของชาวซาไก ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอธารโต

สถิติประชากรตามทะเบียนราษฎร
อำเภอเบตง พ.ศ. 2555
[6]
ตำบล
ชาย (คน)
หญิง (คน)
รวม (คน)
จำนวนบ้าน (หลัง)
ตำบลยะรม 4,956 4,850 9,806 3,750
ตำบลตาเนาะแมเราะ 4,960 4,690 9,650 4,190
ตำบลอัยเยอร์เวง 5,636 5,010 10,646 4,157
เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ 2,276 2,025 4,301 1,572
เทศบาลเมืองเบตง 12,966 13,711 26,677 10,203
รวม
30,784
30,286
61,080
23,872
 

สถิติจำนวนประชากร
อำเภอเบตง
[6]

 
ปี พ.ศ.
จำนวนประชากร (คน)
2536 46,508
2537 48,663
2538 48,949
2539 49,468
2540 51,280
2541 52,119
2542 52,200
2543 53,121
2544 54,184
2545 55,227
2546 56,078
2547 53,451
2548 54,620
2549 55,674
2550 56,471
2551 57,323
2552 58,145
2553 59,127
2554 60,228
2555 61,080

การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 56 ตำบล341 หมู่บ้าน
1. อำเภอเมือง
2. อำเภอเบตง
3. อำเภอบันนังสตา
4. อำเภอธารโต
5. อำเภอยะหา
6. อำเภอรามัน
7. อำเภอกาบัง
8. อำเภอกรงปินัง

                                      

ประวัติความเป็นมา อำเภอเบตง
          เดิมพื้นที่อำเภอเบตง ขึ้นอยู่กับอำเภอรามัน ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอมีชื่อว่า "อำเภอยะรม " (ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบลเบตง ปัจจุบัน) แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 6 ตำบล คือ 1. ตำบลเบตง 2. ตำบลยะรม 3. ตำบลฮิตำ 4. ตำบลโกแน 5. ตำบลบาโลน 6. ตำบลเซะ หรือโกร๊ะ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอยะรม เป็นอำเภอเบตง ซึ่งคำว่า "เบตง" เป็นภาษามาลายู แปลว่า ไม้ไผ่
          ในปี พ.ศ. 2452 จากผลการปักปันเขตแดนระหว่างไทย กับสหพันธรัฐมลายูของอังกฤษ (มาเลเซีย) เป็นเหตุให้ตำบลบาโลน ตำบลโกแน ตำบลฮิตำ และตำบลเซะ รวม 4 ตำบล ถูกตัดออกจากอำเภอยะรมไปรวมกับรัฐเปรัค สหพันธรัฐมาลายูของอังกฤษ อำเภอจึงเหลือพื้นที่ปกครองอยู่เพียง 2 ตำบล คือเบตง และตำบลยะรม
           หลังจากนั้นมาอีก 21 ปี คือในปี พ.ศ. 2473 ที่ว่าการอำเภอเบตง ได้ย้ายที่ตั้งเดิมอีกครั้ง คือย้ายจากหมู่ที่ 1 ตำบลเบตง ไปตั้งอยู่ที่หมู่บ้านกำปงมัสยิด หมู่ที่ 6 ตำบลเบตง คือที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเบตง ในปัจจุบันนี้ และแบ่งการปกครองออกเป็น 4 ตำบล คือ ตำบลเบตง ตำบลยะรม ตำบลอัยเวอร์เวง และตำบลตาเนาะแมเราะ

1) สภาพทั่วไป
     1.1 ลักษณะที่ตั้ง
          อำเภอเบตง ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของประเทศไทย มีลักษณะหัวหอกที่ยื่นเข้าไปในประเทศ-สหพันธรัฐมาเลเซีย อยู่ห่างจากตัวจังหวัดยะลา โดยทางรถยนต์ 140 กิโลเมตร
     1.2 เนื้อที่
          อำเภอเบตงมีพื้นที่ 1,328.00 ตารางกิโลเมตร
     1.3 อาณาเขตติดต่อ
          ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 69 กม.
          ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอปึงกาลันฮูลู (โกร๊ะ) และอำเภอฮูลูเปรัค (กริ๊ก) ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียมาเลเซีย มีความยาวประมาณ 96 กม.
          ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอฮูลูเปรัค (กริ๊ก) ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย และอำเภอจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มีความยาวประมาณ 20 กม.
          ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบาลิ่ง รัฐเคด้าห์ ประเทศสหพันธรัฐมาเลเซียมีความยาวประมาณ 33 กม.
     1.4 ลักษณะภูมิประเทศ
          สภาพพื้นที่ อำเบตงตั้งอยู่ในพื้นที่ราบสูง เนินเขา ลุ่มน้ำ สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,900 ฟุต
          ภูเขา อำเภอเบตง ตั้งอยู่ตามแนวเทือกเขาสันกาลาคีรี
          แม่น้ำ อำเภอเบตง ตั้งอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำปัตตานี
     1.5 ภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศ มี 2 ฤดู คือ
          - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม ของทุกปี
          - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน – เดือนธันวาคม ของทุกปี
     1.6 พื้นที่และการใช้ประโยชน์
          พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเตรียมการฯ และป่านิคมสร้างตนเองสำหรับพื้นที่ที่เหลือใช้เพื่อการเกษตร การปศุสัตว์ การประมง การพาณิชย์ และอื่น ๆ การถือครองที่ดินอำเภอเบตง การออกเอกสารสิทธิให้แก่ราษฎร มีรายละเอียดดังนี้
          - มีโฉนดที่ดิน จำนวน 14,384 แปลง เนื้อที่ 15,563 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา
          - หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3ก) จำนวน 351 แปลง
          - หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) จำนวน 7,853 แปลง 87,849 ไร่ 2 งาน 71- ตารางวา
          - หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) จำนวน 25 แปลง 1,186 ไร่ 3 งาน 29.3 -ตารางวา
     1.7 การปกครอง
          อำเบตง แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 เป็น
          1) ตำบลเบตง (เทศบาล) ชุมชน 10 ชุมชน
          2) ตำบลตาเนาะแมเราะ หมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน
          3) ตำบลยะรม หมู่บ้าน 7 หมู่บ้าน
          4) ตำบลธารน้ำทิพย์ หมู่บ้าน 4 หมู่บ้าน
          5) ตำบลอัยเยอร์เวง หมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน
          รวม 5 ตำบล หมู่บ้าน/ชุมชน 27/10 หมู่บ้าน/ชุมชน
          การปกครองส่วนท้องถิ่น
          มีเทศบาลตำบล 1 แห่ง คือ เทศบาลตำบลเบตง ประกอบด้วย 10 ชุมชน 7,672 ครัวเรือน มีพื้นที่ 79 ตารางกิโลเมตร
มีองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง
          1) องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะแมเราะ ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน 892 ครัวเรือน มีพื้นที่ 192.23 ตารางกิโลเมตร
          2) องค์การบริหารส่วนตำบลยะรม ประกอบด้วย 7 หมู่บ้าน 1,147 ครัวเรือน มีพื้นที่ 123.20 ตารางกิโลเมตร
          3) องค์การบริหารส่วนตำบลธารน้ำทิพย์ ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน 427 ครัวเรือน มีพื้นที่ 167.29 ตารางกิโลเมตร
          4) องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน 1,225 ครัวเรือน พื้นที่ 765.28 ตารางกิโลเมตร
     1.8 ประชากร
          มีประชากรทั้งสิ้น 52,027 คน แยกเป็นชาย 26,765 คน หญิง 25,262 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 37 คน/ตารางกิโลเมตร

2) สภาพทางเศรษฐกิจ
     2.1 การเกษตรกรรม
          อำเภอเบตงมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 378,065 ไร่ ครอบครัวเกษตร จำนวน 5,298 ครอบครัว
พืชเศรษฐกิจ
           1. ยางพารา 363,977 ไร่
         2.ไม้ผล 10,949 ไร่
         3.ไม้ยืนต้น 1,396 ไร่
         4. 
พืชผัก 505 ไร่
         5. 
พืชไร่ 60 ไร่
         6. 
ประมง 1,891 ไร่
         7. 
ปศุสัตว์ 1,695 ไร่
         8. 
เนื้อที่ถือครองไม่ได้ใช้ประโยชน์ 55,603 ไร่

     2.2 การอุตสาหกรรม
          มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการ จำนวน 35 แห่ง
     2.3 การพาณิชย์
          -มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง
          -มีธนาคาร จำนวน 7 แห่ง
          -มีสหกรณ์จำนวน 17 แห่ง
     2.4 การบริการ
          -มีโรงแรม จำนวน 18 แห่ง
          -สถานบริการและเริงรมย์ จำนวน 23 แห่ง
      2.5 การท่องเที่ยว
          -มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่
                    1. บ่อน้ำร้อน ตั้งอยู่ที่บ้านบ่อน้ำร้อน หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะแมเราะระยะทางจาก ตลาดอำเภอเบตง 14 กิโลเมตร
                    2. น้ำตกอินทสร ตั้งอยู่ที่บ้านปาเลสตู หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะแมเราะระยะทางจากตลาดอำเภอเบตง 16 กิโลเมตร
                    3. อุโมงค์เบตง ตั้งอยู่บ้านปิยมิตร 1 หมู่ที่ 2 ตำบลตาเนาะแมเราะระยะทางจากตลาดอำเภอเบตง 18 กิโลเมตร
                    4. สวนสาธารณะ และน้ำพุกลางเมือง ตั้งอยู่บนภูเขาในใจกลางเมืองเบตง
                    5. สวนนก สวนสุขภาพ และสถานกีฬาในหุบเขา ตั้งอยู่ในบริเวณสวนสาธารณะ
                    6. ตู้ไปรษณีย์ สูง – ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกหอนาฬิกาใจกลางเมืองเบตง
                    7. พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ ณ วัดพุทธาธิวาส ตำบลเบตง
                    8. ทัศนียภาพยามค่ำคืนนกนางแอ่นนับล้านตัว เกาะอยู่บนสายไฟฟ้ารอบตัวเมืองเบตง
                    9. ศาลเจ้าพ่อโต๊ะนิ ตั้งอยู่ในบริเวณโรงเรียนเบตง “วีระราษฎรประสาน”
                    10. สายหมอกและดอกไม้งาม สายหมอกในยามเช้าผสมด้วยดอกไม้ สวยงามจนมีผู้ขนานนามว่า “เมืองในหมอกและดอกไม้งาม”
                    11. พรมแดนไทย – มาเลเซีย ใต้สุดสยาม ตั้งอยู่ ณ ชายแดนใต้สุดของประเทศไทยและเหนือสุดของประเทศสหพันธรัฐมาเลเซีย

3) สภาพทางสังคม
     3.1 การศึกษา
          - ข้อมูลด้านการศึกษา

สถานศึกษาสังกัด จำนวน (โรงเรียน)
อศ.          1
สปช.       19
สศ.          2
สช           7

     3.2 การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
          - การศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาพุทธ 48 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาอื่น ๆ 2 เปอร์เซ็นต์
          - ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีมีประเพณีและศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ ไทยอิสลาม และชาวไทยเชื้อสายจีนปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ
     3.3 การสาธารณสุข
(1) มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
          - โรงพยาบาล ขนาด 170 เตียง จำนวน 1 แห่ง
          - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
          - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 9 แห่ง
          - สำนักงานส่วนมาเลเซีย จำนวน 1 แห่ง
          - สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน 12 แห่ง
          - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 7 แห่ง
(2) อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100 %
(3) หอกระจายข่าว จำนวน 17 แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ 50 %
มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 3 แห่ง และกองร้อยตำรวจตระเวณชายแดน จำนวน 1 แห่ง

4) ระบบบริการพื้นฐาน
     4.1 การคมนาคม
          การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมภายในและ หมู่บ้านทางหลวงแผ่นดิน 3 สาย ทางหลวงธรรมดา 6 สาย
สำหรับเส้นทางเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นสภาพถนนลูกรัง จำนวน 10 สาย

5) ทรัพยากรธรรมชาติ
     5.1 ทรัพยากรดิน
          เป็นดินกลุ่มภูเขา เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนลักษณะเป็นดินลูกรัง ดินร่วนปกเหนียว ซึ่งเหมาะแก่การปลูกยางพารา
     5.2 ทรัพยากรน้ำ
          แม่น้ำปัตตานีคลองเบตง คลองกะโด คลองวังสุดา คลองบ่อน้ำร้อน คลองพรวน คลองอัยเยอร์เวง คลองน้ำใสนอกจากนี้ยังมีลำธารอีกหลายแห่ง
     5.3 ทรัพยากรป่าไม้
          มีพื้นที่ป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ป่าฮาลา ขณะนี้ได้ประกาศเป็นป่าพระนามาภิไท
5) ศักยภาพและโอกาสของอำเภอ
          (1) เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาของรัฐบาล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
          (2) การร่วมมือการรวมกลุ่มของภาคเอกชน/ประชาชนในพื้นที่ มีศักยภาพสูงในการทำงานระดับทางราชการ และมีความต้องการในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
          (3) สภาพทางภูมิศาสตร์และพื้นที่มีความเหมาะสมในการพัฒนาด้านต่าง ๆ
          (4) ทรัพยากรมีความสมบูรณ์ และสามารถเป็นสิ่งที่ส่งเสริมเกื้อหนุนในการพัฒนาอำเภอ
          (5) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาพื้นที่แนวชายแดน ร่วมกัน และร่วมมือตามนโยบายพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ

ปัญหาของพื้นที่
          คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ(กพอ.) ได้จัดกลุ่มปัญหาเป็น 7 ด้าน คือ
                    1. กลุ่มปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
                    2. กลุ่มปัญหาผลผลิต รายได้ และการมีงานทำ
                    3. กลุ่มปัญหาความรู้และการศึกษา
                    4. กลุ่มปัญหาสาธารณสุขและการอนามัย
                    5. กลุ่มปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
                    6. กลุ่มปัญหาแหล่งน้ำ
                    7. กลุ่มปัญหาอื่น ๆ